วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร

 การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร
  วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน       วัตถุประสงค์ของการบัญชีคือ เพื่อทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ การบัญชีการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลแก่บุคคลภายนอกนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้ให้สินเชื่อ และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามโดยเบื้องต้นนั้นการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหารมีความเกี่ยวข้องกันกับการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งก็คือผู้บริหาร อย่างไรก็ตามข้อมูลทางการบัญชีต้นทุนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงิน 
การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)       ข้อมูลในทางบัญชีการเงินเป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อการนำเสนอต่อบุคคลภายนอกองค์กรในรูปแบบของงบการเงินต่างๆ ข้อมูลทางการบัญชีการเงินจะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principles : GAAP) หลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้นรวมถึงระเบียบแบบแผน กฎ ข้อบังคับ และวิธีการซึ่งกำหนดหรืออธิบายให้ทราบเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันในทางบัญชี การบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร (Cost Accounting and Management Accounting) 
      วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร (การบัญชีเพื่อการจัดการ) คือ ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อการวางแผนและการควบคุม สมาคมนักบัญชีนานาชาติ (The National Association of Accountants : NAA) ได้อธิบายถึงการบัญชีบริหารไว้ดังนี้ “การบัญชีบริหารเป็นกระบวนการของการระบุ การวัดค่า การสะสม การวิเคราะห์ การจัดทำ การอธิบาย แปลความหมาย ตีความ และการสื่อสารข้อมูลทางการเงินที่ผู้บริหารจะนำไปใช้เพื่อการวางแผนงานการวัดผลงาน และการควบคุมภายในองค์กร” 
      การบัญชีต้นทุนเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยพื้นฐานในส่วนของการจดบันทึกข้อมูล และการรายงานข้อมูลต้นทุนสินค้าที่ผลิตและการให้บริการ ซึ่งรวมถึงวิธีการในการรับรู้ การจำแนกประเภทต้นทุน การปันส่วน การรายงานข้อมูลต้นทุน การเปรียบเทียบข้อมูลต้นทุนกับต้นทุนมาตรฐาน แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่างการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร แต่คำสองคำนี้ถูกนำมาใช้กล่าวถึงแทนกันบ่อยครั้ง 
การบัญชีต้นทุนสำหรับการวางแผนและการควบคุม 
      การบัญชีต้นทุนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการวางแผนและการควบคุมการวางแผนรวมถึงการระบุหรือกำหนดเป้าหมายขององค์กร และการพัฒนาแผนงานเพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการวางแผนคือการพัฒนางบประมาณหรือแผนงานสำหรับการดำเนินงานขององค์กร การบัญชีต้นทุนทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการนำมาใช้เพื่อการพัฒนางบประมาณ ในลักษณะของการกำหนดต้นทุนมาตรฐานโดยจะถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าต้นทุนการผลิตโดยประมาณ 
      การควบคุมรวมถึงการเปรียบเทียบผลการทำงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณตามแผนงาน และการรายงานถึงการประเมินค่าผลการดำเนินงาน รายละเอียดบางอย่างโดยเฉพาะซึ่งรวมถึงการเปรียบเทียบต้นทุนจริงกับต้นทุนมาตรฐาน และการคำนวณผลต่าง การบัญชีต้นทุนจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นเพื่อจะทำให้สามารถบรรลุผลสำเร็จในหน้าที่งานเหล่านั้นได้ 
      ในบางครั้งการวางแผนและการควบคุมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ การวางแผนกลยุทธ์ การควบคุม การบริหาร และการควบคุมการดำเนินงาน การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการที่ระบุหรือกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ การควบคุมการบริหารงานเป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจได้ว่าทรัพยากรที่กิจการมีอยู่นั้นได้ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล รวมถึงมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร ส่วนการควบคุมการดำเนินงานเป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจได้ว่าหน้าที่งาน การดำเนินงานในทุกส่วนงานมีความพร้อมสมบูรณ์ที่จะทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล 
การบัญชีต้นทุนในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ 
      ข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนสามารถนำมาพิจารณาในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ได้ในลักษณะของผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนของการได้มาซึ่งชุดข้อมูลบางอย่าง หรือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการได้ทราบข้อมูลบางอย่างโดยเฉพาะ ซึ่งจะสงผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีกว่าจากการใช้ข้อมูลเหล่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเมื่อพิจารณาในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ชุดข้อมูลบางอย่างโดยเฉพาะนั้นจะต้องมีมูลค่ามากกว่าต้นทุนที่เสียไปจากการจัดหาข้อมูลเหล่านั้น เช่น ในการตัดสินใจว่าควรจะทำการผลิตหรือหรือไม่โดยใช้ข้อมูลต้นทุนในลักษณะอื่นๆ ที่ให้รายละเอียดได้มากกว่ารายงานข้อมูลต้นทุน ต้นทุนของการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นควรจะต้องเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในครั้งนั้นด้วย เป็นต้น

เครื่องมือ"คนรวย"ที่"คนจน"ไม่รู้! สาระดีๆที่ควรรู้

ระบบสารสนเทศผู้สอบบัญชีภาษีอากร

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ผ่อนคล้ายอารมณ์กับชิงร้อยชิงล้าน

สร้างงบการเงิน

แม่บทการบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

การคำนวณซื้อสุทธิ

เทคนิคการจำตั๋วเงินรับ

เทคนิคบัญชีขั้นเทพ

การบันทึกบัญชี การลงทุน

Financial Accounting

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากร
ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้
แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร
แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาค             เอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

ความหมายของการบัญชี
การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน

ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชี                    ภาษีอากร
การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก
การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ 
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
-  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
-  บริษัทจำกัด
-  บริษัทมหาชนจำกัด
-  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
-  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
3)  ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
2.2  ผู้ทำบัญชี

1)  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
2)  ต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้

3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
4.  บทกำหนดโทษ4.1  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ
4.2  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.  ประมวลรัษฎากร

การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร
1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง
-  ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-             นุเบกษา
-  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้
1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน
2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด
1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
1)  ให้ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)
(1)  รายงานภาษีขาย
(2)  รายงานภาษีซื้อ
(3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)
2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)
2.  การจัดทำงบการเงิน
3.  การตรวจสอบและรับรองบัญชี            

หลักเกณฑ์การบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
1.  คำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน
1.1  สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
1.2  หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
1.3  ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
1.4  รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ
1.5  ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
2.  การรับรู้รายการ
2.1  การรับรู้รายได้ ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ดังนี้
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือส่วนที่ลดลงของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ 
2.2  การรับรู้ค่าใช้จ่าย ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง                    2 ประการคือ
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
3.  ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
3.1  เกณฑ์คงค้าง
3.2  หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง   
เงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน  ค่าใช้จ่าย  ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ก้าวหน้า)

การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.  เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.  การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ
3.  เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย               
ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.1  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี
1.2  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1  ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
2.2  ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและ/หรือให้บริการในราชอาณาจักร
3.2  ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.  ความรับผิดทางอาญา
2.     ความรับผิดทางแพ่ง 
 การขอคืนภาษี
1.  ให้ผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษีหรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ (กรณียื่นเกินกว่ากำหนดเวลา) หรือนับแต่วันได้รับแจ้งค่าวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เขต การขอคืนภาษีในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยให้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะได้รับคืนเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้ขอคืนภาษี
ผู้มีอำนาจสั่งคืนภาษีจะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วัน นับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือ (แบบ ค. 20) ไปยังผู้ขอคืนเพื่อแจ้งการโอนเงินค่าภาษีที่ขอคืน หรือแจ้งให้ไปรับคืนค่าภาษีได้ และกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2.  ผู้ที่ชำระภาษีหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย จะขอคืนภาษีโดยไม่ยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ก็ได้ ซึ่งต้องรอให้ถึงระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี และกรอกข้อความลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
       
อำนาจการประเมินภาษี
สรุปอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินภาษีในการประเมินภาษีอากร
1.  ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้ตามมาตรา 18 ทวิ
2.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ ถ้าประเมินแล้วมีภาษีอากรที่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้เสียภาษีตามมาตรา 18 และมาตรา 88/53.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นรายการมาไต่สวนหรือออกหมายเรียกพยานคำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ ทั้งนี้การออกหมายเรียกดังกล่าวต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 18 มาตรา 23 มาตรา 27 จัตวา มาตรา 88 และมาตรา 88/6
4.  เข้าไปในสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรหรือไม่โดยให้เจ้าพนักงานแสดงบัตรประจำตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบตามมาตรา88/3
5.  อำนาจการประเมินเงินได้ เจ้าพนักงานประเมินภาษีมีอำนาจในการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร
6.  อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 88 และมาตรา 91/21(5)

เทคนิคการจำหมวดบัญชี

เทคนิคการจำ บัญชีขั้นต้น

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่บทการบัญชี

                                                  



แม่บทการบัญชีเกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพ คำนิยาม การรับรู้ การวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆ ของงบการเงิน และแนวคิดเกี่ยวกับทุน และการรักษาระดับทุน ซึ่งในการจัดทำงบการเงิน ผู้จัดทำงบการเงินจึงควรเข้าใจถึงเรื่องสำคัญดังกล่าวข้างต้น และต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินส่วนใหญ่ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน ซึ่งงบการเงินนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรายงานทางการเงิน

งบการเงินที่สมบูรณ์อาจประกอบไปด้วย งบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) งบกำไรขาดทุน (งบแสดงถึงผลการดำเนินงาน) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลเพิ่มเติมอื่นที่ได้มาจากงบการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินนั้น ทั้งนี้ งบการเงินไม่รวมถึงรายงานของผู้บริหาร สารจากประธาน และบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่อาจปรากฏในรายงานประจำปี หรือรายงานการเงิน



ผู้ใช้งบการเงิน และความต้องการข้อมูล

1. ผู้ลงทุน คือ ผู้เป็นเจ้าของเงินทุน ที่ต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ ซื้อ ขาย หรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป และอาจรวมถึงการประเมินถึงความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย

2. ลูกจ้าง คือ ลูกจ้าง และกลุ่มตัวแทน ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคง และความสามารถในการทำกำไรของนายจ้าง รวมถึงการประเมินถึงความสามารถในการจ่าย ค่าตอบแทน บำเหน็จ บำนาญ และโอกาสในการจ้างงานในอนาคตด้วย

3. ผู้ให้กู้ คือ ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าเงินที่ให้กู้ยืมนั้น รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนดหรือไม่

4. ผู้ขายสินค้า และเจ้าหนี้อื่น คือ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่า หนี้สินอันเกิดจากการค้า จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด รวมถึงเพื่อประเมินถึงความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการในอนาคตอีกด้วย

5. ลูกค้า คือ ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องมีความสัมพันธ์หรือต้องพึงพากันในระยะยาว

6. รัฐบาล และหน่วยงานราชการ คือ กลุ่มที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการเพื่อ การจัดสรรทรัพยากร การกำกับดูแล การกำหนดนโยบายทางภาษี และเพื่อเป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

7. สาธารณชน คือ ประชาชนผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จ และการดำเนินงานของกิจการ เพราะประชาชนอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดจากผลกระทบของกิจการ เช่น การจ้างงาน การรับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในท้องถิ่น เป็นต้น



ข้อสมมุติในการจัดทำงบการเงิน

1. เกณฑ์คงค้าง หมายถึง การที่งบการเงินจัดทำขึ้นภายใต้หลักที่ว่า “รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้เมื่อเกิดขึ้น มิใช่เมื่อมีการรับ หรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด” ซึ่งข้อมูลของงบการเงินที่จัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง มีดังนี้

1) รายการค้าในอดีตที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสด

2) ภาระผูกพันของกิจการที่ต้องจ่ายเป็นเงินสดในอนาคต และ

3) ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่จะได้รับเป็นเงินสดในอนาคต

2. การดำเนินงานต่อเนื่อง หมายถึง การที่กิจการไม่มีวัตถุประสงค์หลักที่จะเลิกกิจการ หรือลดขนาดของการดำเนินงานที่สำคัญในอนาคต หรืออาจกล่าวได้ว่า “กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคตนั่นเอง”



ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน

หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ซึ่งลักษณะหรือคุณสมบัติ ดังกล่าว มี 4 ประการคือ

1. ความเข้าใจได้

2. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ คือ ข้อมูลนั้นต้องช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือบ่งชี้ถึงความผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้

3. ความเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลที่ไม่มีข้อผิดพลาดที่สำคัญ และไม่มีความลำเอียงที่จะนำเสนอข้อมูลให้ผู้ใช้งบการเงินหลงเข้าใจตามที่ตนต้องการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ข้อมูลนั้นต้องเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดง หรือควรแสดง ซึ่งการทำให้ข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม อาจต้องประกอบด้วยหลักดังนี้

3.1 หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ คือ ข้อมูลต้องบันทึก และแสดงตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ มิใช่ยึดตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ กฎหมายถือว่า เมื่อมีการจดทะเบียนกันแล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ได้โอนแล้ว แต่โดยเนื้อหาของสัญญายังระบุให้เจ้าของเดิมใช้ประโยชน์ได้อยู่ เป็นต้น

3.2 หลักความเป็นกลาง

3.3 หลักความระมัดระวัง เกิดจากความไม่แน่นอนในข้อมูลของงบการเงิน เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้ ทำให้กิจการใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูลโดยเปิดเผยข้อมูลถึงผลกระทบดังกล่าว ซึ่งกรเปิดเผยข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของผู้จัดทำงบการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลัก

3.4 หลักความครบถ้วน คือ ต้องพิจารณาจากการที่ข้อมูลนั้นไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ หากไม่ทำให้การตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินผิดพลาด ก็อาจถือได้ว่า งบการเงินนั้นแสดงข้อมูลครบถ้วนแล้ว

4. การเปรียบเทียบกันได้ เป็นคุณสมบัติของงบการเงินที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ที่จะเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงิน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของ ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ และยังช่วยในการประเมินถึง ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินอีกด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญของการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงินนั้น คือ นโยบายบัญชี หากนโยบายบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินที่นำมาเปรียบเทียบนั้น แตกต่างกันแล้ว การเปรียบเทียบกันของงบการเงินในเวลาที่ต่าง (ปีนี้ กับปีก่อน) ย่อมอาจเกิดข้อผิดพลาดได้

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทอาชีพของการบัญชี


ประเภทอาชีพของการบัญชี
                อาชีพการบัญชีมีหลายประเภท  โดยจะแตกต่างกันไปตามชนิดของกิจการ  และความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ  3 ประเภท คือ
                1. การบัญชีสาธารณะ 
(Public Accounting)  ได้แก่  การบัญชีของนักบัญชีที่ประกอบอาชีพส่วนตัว  รับจ้างทำงานด้านการบัญชีทั่วไป  โดยจัดตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมาและรับทำงานทางด้านการบัญชีทั่วไป  โดยจัดตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมาและรับทำงานทางด้านการบัญชี  หรือทำงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี เริ่มตั้งแต่บันทึกรายงานทางการเงิน  จัดทำรายงานทางการเงิน  การวางรับบัญชี  และการทำงบประมาณให้แก่กิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ  หรืออาจรับเป็นที่ปรึกษาในการยื่นเสียภาษีให้ถูกต้อง
                2. การบัญชีงานบัญชีของธุรกิจ (Business  Accounting)  นักบัญชีเข้าไปทำงานบัญชีของธุรกิจโดยการเป็นพนักงานประจำหรือลูกจ้างซึ่งกิจการจ้างทำงานด้วยความสมัครใจ  ผลตอบแทนที่ได้รับคือเงินเดือนประจำ  ซึ่งอาจจะเข้าไปทำงานในหน่วยงานธุรกิจ  เช่น  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนหรือร้านค้าเจ้าของคนเดียว  ในตำแหน่งต่างๆ  เช่น  ผู้อำนวยการบัญชี  สมุห์บัญชี  ผู้ตรวจสอบภายในและพนังงานบัญชี เป็นต้น
                3. การบัญชีสาวนราชการ (Govemmental  Accounting) การดำเนินงานของส่วนราชการนั้นไม่ได้แสวงหาผลกำไร  การบัญชีของราชการ  จึงแตกต่างจากธุรกิจเอกชน  กล่าวคือ  งานบัญชีของส่วนราชการจะมีหลักฐานการจดบันทึกการรับเงิน  การจ่ายเงินไว้อย่างละเอียดและผ่านขั้นตอนตามระเบียบที่กรมบัญชีกลางได้วางไว้  โดยกรมบัญชีกลางได้จัดทำเป็นหนังสือไห้หน่วยงานราชการของรัฐทุกแห่งปฏิบัติตาม

อาชีพนักบัญชี

                                                         

ลักษณะงาน

ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห็รายการธุรกิจและบันทึกผลทางการเงิน การรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบบัญชี การวางแผนทางบัญชี และการวางระบบทางบัญชีแก่สถานประกอบการต่างๆ


คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ


ควรเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ , ซื่อสัตย์ , ละเอียด , ชอบการติดต่อประชาสัมพันธ์กับคนทั่วไป , รักความก้าวหน้า , มีความคิดริเริ่ม , มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหา , วิเคราะห็งานได้อย่างมีระบบ , ตัดสินใจเร็ว , มีความสนใจและตื่นตัวในเรื่องทั่วไปและก้าวหน้าทันโลก , เพราะงานที่เกี่ยวกับการบัญชี การพาณิชย์ในองค์การธุรกิจ เป็นงานที่ท้าทายและต้องแข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ , มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา , ถนัดในเรื่องของคณิตศาสตร์ พอสมควร เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เร็วและถูกต้อง


การศึกษาและการฝึกอบรม

เข้าศึกษาต่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี,คณะสังคมศาสตร์,หรือคณะบริหารธุรกิจ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน


โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ

1. เป็นสมุห์บัญชี หรือตำแหน่งเกี่ยวกับบัญชีขององค์การธุรกิจ หรือองค์การรัฐบาล
2. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือแผนกการเงิน ในบริษัทเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ
3. ทำงานในธนาคาร บริษัทประกันภัย
4. ทำงานในองค์การรัฐบาลในหน้าที่ผู้บริหารการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
5. ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาติ
6. เป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ
สามารถพัฒนางานเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนได้ในโอกาสต่อไป หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกก็ได้



U GOT ME(เพลงนี้ชอบมากกกกกกกกกกก)

ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ

การบัญชี (Accounting)

การบัญชี

                                    
มีการพบหลักฐานว่า การบัญชีเกิดขึ้นมากว่า 4,000 ปีแล้ว สมัยนั้นได้มีการจัดทำบัญชีสินค้า บัญชีค่าแรง และค่าภาษีอากร ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาก่อนคริสตศตวรรษที่ 14 พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาระบบบัญชีคู่ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นนั้นไม่ได้รวบรวมไว้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1494 นาย FRA LUCA PACIOLI ชาวอิตาเลี่ยน ได้แต่งหนังสือชื่อ เรียกสั้น ๆ ว่า "Summa" เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรารวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิชาการบัญชี" ต่อมาราวคริสตศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีการลงทุนกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่จะบันทึกบัญชีกิจการแยกต่างหากจากเจ้าของ เพื่อจะได้ทราบว่าใครลงทุนเท่าใด และมีสิทธิส่วนได้ ส่วนเสียในกิจการเท่าใด นอกจากนั้นยังมีการจัดทำงบการเงินเพื่อรายงานถึงผลการดำเนินงานและฐานะของธุรกิจให้ผู้ร่วมลงทุนได้ทราบ ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน
การบัญชี (Accounting)
คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
" Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof."
จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย
การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ
-
1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น 
1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล
นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิด

                                                  

หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
          มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
          มาตรา ๒๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
          มาตรา ๒๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
          มาตรา ๓๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
          มาตรา ๓๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือ มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
          มาตรา ๓๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
          มาตรา ๓๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา ๑๕ เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหาย หรือเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
          มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
          มาตรา ๓๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งสั่งการตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๙ ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
          มาตรา ๔๑ บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          [ดูคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๗๐/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓]

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี

                                            
เมื่อกล่าวถึงนักบัญชี ทุกคนคงนึกถึงคนที่ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลข และเอกสารหลักฐานต่างๆ ทางการเงิน ของบริษัทเป็นคนที่มียึดมั่นในหลักการ และทำตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านการบัญชี และต้องการทำงานด้านนี้ คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีที่จะกล่าวต่อไปนี้นักบัญชีทั้งหลายพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด


ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง
ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ได้มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่อย่างใด หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดีแล้วล่ะก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจ
ของเราอยู่แล้ว

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เงินลงทุนชั่วคราว

วัตุประสงค์การบัญชี

วัตถุประสงค์ของการบัญชี

                วัตถุประสงค์พื้นฐานของการบัญชี  คือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเงินเพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ  โดยเริ่มจากกระบวนการทางบัญชีในการเก็บรวบรวมและจดบันมึกรายการค้าตามลำดับก่อนหลัง  และนำมาจัดประเภทรายการต่างๆ  จากนั้นจึงนำมาสรุปเป็นรายงาน  และงบการเงิน  เพื่อวักผลและรายงานผลการดำเนินงาน  ฐานะการเงินของกิจการให้แก่ผู้สนใจทุกฝ่ายทราบ โดยนักบัญชีใช้รายงานผลดำเนินงานของกิจการในรูปแบบเงินตราเพื่อที่จะสามารถรายงานผลการดำเนินงาน  และฐานะการเงินของธุรกิจได้ดี  และเชื่อว่าการบัญชีจะให้รายงานอันเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในการบริหารงาน
                ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กลุ่มผู้ใช้ภายใน เช่น CEO กรรการ ผู้จัดการ  ผู้อำนวยการ  และผู้บริหารอื่นๆ เพื่อผู้บริหารจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการตัดสินใจ  และข้อมูลทางการเงินเพื่อบอกสถาณะทางการเงินกับหน่วยงาน  อย่างเช่น  รายงานต้นทุนสินค้า  งบประมาณรายรับ-รายจ่าย  งบการเงินประจำเดือน  ซึ่งงบประมาณเหล่านี้มีส่วนในการวางแผนและแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย  และยังมีการเสนอรายงานทางการเงินแก่บุลคลภายนอกอีก  อย่างเช่น  ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หรือว่าหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ที่ต้องนำเสนอ  เพื่อประกอบการตัดสินใจในกิจการต่างๆ  อย่างเช่นภาษี  การอนุมัติวงเงินในแก่กิจการ

บัญชีเบื้องต้น : ความหมาย

สุขบัญญัติ 10 ประการ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งบดุล

โครงสร้างของงบดุลโครงสร้างของงบดุลโดยทั่วไปจะแยกแสดงรายการต่าง ๆ ดังนี้
สินทรัพย์ จะแสดงรายการเรียงลำดับจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดไปยังสภาพคล่องต่ำสุด
หนี้สิน จะแสดงรายการเรียงลำดับจากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระคืนก่อนไปยังหนี้สินระยะยาว
ส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดงรายการเรียงลำดับจากทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และ กำไรสะสม
ตัวอย่างงบดุลของบริษัทมหาชนโดยทั่วไป


เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ
ค่าความนิยม
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ๆ
รวมสินทรัพย์

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน
เจ้าหนี้การค้า
ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัท กขค จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25XX
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
หนี้สินหมุนเวียนอื่น ๆ
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิ
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ๆ
รวมหนี้สิน
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น

ยิ่งอยู่ไปยิ่งไม่รัก

ทฤษฏีการจัดทำงบการเงินรวม

งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประ
กอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการ
นั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการ จัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการ
ที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงิน
ของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน
การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะ
ทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหา ของการบร
ิหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่าย
บริหาร  มาตรฐานการบัญชีปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการทำงบการเงินรวมและการ
บัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยคือ ฉบับที่ 44 (ถือปฏิบัติเมื่อ 1 มกราคม
2543) ซึ่งใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับที่
44 นี้ ได้จัดทำขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐาน การบัญชีระหว่าง
ประเทศ ฉบับที่ 27 (IAS No. 27 “Consolidate Financial Statements and
Accounting for Investments in Subsidiaries” (Reformatted 1994) โดย
มาตรฐานไทยฉบับที่ 44 มีเนื้อหาสาระสำคัญไม่แตกต่างจากมาตรฐานการบัญช
ีระหว่างประเทศ ยกเว้นมาตรฐานไทยจะกำหนดให้ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ต้องแสดงเป็น
รายการแยกต่างหากต่อจากกำไรสะสม ภายใต้ส่วนของเจ้าของ ในงบการเงิน
รวมเพื่อให้สอดคล้องกับแม่บทการบัญชี ในบทความนี้จะอธิบายถึงลักษณะของ
งบการเงินรวม โดยจะเน้นให้ความรู้เบื้องต้นก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
การจัดทำและการวิเคราะห์งบการเงินรวมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบการเงินรวม
การจัดทำงบการเงินรวมมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงรายงานทางการเงิน และส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทที่มีการถือหุ้นระหว่างกันนอกเหนือจากการจัดทำงบ
การเงินเดี่ยวของแต่ละ บริษัท ทั้งนี้บริษัทที่เข้าซื้อหุ้นในบริษัทอื่นเพื่อที่จะเข้า
ควบคุมการดำเนินงานนั้นเรียกว่า “บริษัทใหญ่” และ บริษัทเจ้าของหุ้นที่ถูกเข้า
ควบคุมงานเรียกว่าเป็น “บริษัทย่อย” บริษัทต่างๆ เหล่านี้ที่มีความสัมพันธ์กันเรียกว่า
เป็นบริษัทในเครือ (Affiliates) โดยปกติบริษัทย่อยมักหมายถึงบริษัทที่บริษัทใหญ
่ถือหุ้นเกินกว่า 50% หุ้นที่เหลือเรียกว่าผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Minority Interest) เนื่องจากกฎหมายระบุว่ากิจการแต่ละแห่งมีสถานะทางการกฎหมายที่
แยกจากกัน โดยบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยต่างก็มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลจากกัน มีหน้าที่ที่ต้องจัดทำงบการเงินของตนเองเสนอต่อผู้ถือหุ้นและหน่วย
ราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อบริษัทใหญ่ซื้อหุ้นสามัญซึ่งเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท
ย่อย บริษัทใหญ่จะบันทึกบัญชี เงินทุนและแสดงเป็นสินทรัพย์ในงบดุลของบริษัทใหญ
่ หรืองบดุลของบริษัทย่อย เพราะงบดุลของบริษัทใหญ่และงบดุลของบริษัทย่อยต่างมี
ความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งด้านกฎหมาย ภาษีอากรและด้านธุรกิจ แต่งบดุลรวมจะสามารถบ่งบอกฐานะการเงินของกลุ่มกิจการซึ่งประกอบด้วยบริษัทใหญ
่และบริษัทย่อยทั้งหมดได้
ส่วนบริษัทร่วม (Associated Company) หมายถึง บริษัทที่บริษัทใหญ
่เข้าไปถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนเกินกว่า 20% แต่ไม่เกิน 50% ของทุนจดทะเบียนของ
บริษัทนั้น และด้วยวัตถุประสงค์ที่จะถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาว โดยทั่วไปเมื่อบร
ิษัทใหญ่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทร่วม บริษัทใหญ่นั้นไม่จำเป็นต้องทำงบการเงินรวมเพียง
แต่บันทึกและแสดงส่วนที่ลงทุน
ในบริษัทร่วมในบัญชีเงินลงทุนตามที่ระบุใน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 45 เรื่อง “การ
บัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม”เพียง บริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ตั้งใจจะควบคุมเป็น
การชั่วคราว เนื่องจากบริษัทใหญ่ซื้อหรือ ถือบริษัทย่อยดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนดที่
เข้มงวดจากภายนอก ทำให้บริษัทย่อย มีข้อจำกัดในการโอนเงินให้แก่บริษัทใหญ่ 4.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 กำหนดว่า
แม้ว่าบริษัทย่อยจะมีการดำเนิน ธุรกิจแตกต่างจากบริษัทอื่นที่อยู่ในกลุ่มกิจการ
การทำงบการเงินรวมยังคงให้ ประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลที่แสดงในงบการเงินรวมที่รวม
บริษัทย่อย และข้อมูล ที่แสดงในงบการเงินรวมที่รวมบริษัทย่อย และข้อมูลเพิ่มเติมที่
เปิดเผยในงบการเงิน รวมเกี่ยวกับ ความแตกต่างในการดำเนินธุรกิจเป็นข้อมูลที่ให้ประ
โยชน์ต่อผู้ใช้งบ การเงินมากขึ้น ทั้งนี้ความเห็นของมาตรฐานในข้อนี้อาจแตกต่างจาก
นักบัญชีบางท่าน ซึ่งเห็นว่า การดำเนินงานของบริษัทที่จะทำงบการเงินรวม จะต้องม
ีความสัมพันธ์กันหรือมีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น ถ้าบริษัทใหญ่เป็นบริษัททำเกษตรกรรม
แต่บริษัทย่อยเป็นกิจการประกันภัย
ดังนั้นการนำสินทรัพย์ของบริษัทใหญ่ เช่นที่ดิน อาคาร เครื่องจักร สินค้า มารวมกับสิน
ทรัพย์ของกิจการประกันภัยนั้น จะไม่ให้ประโยชน์กับผู้อ่านงบการเงินรวมเลย ฉะนั้นข้อสรุปโดยทั่วไปเพื่อให้ผู้จัดทำงบหรือผู้อ่านงบการเงินเข้าใจคือ ถ้าบริษัทใหญ
่ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทย่อยและให้จัดทำงบการ
เงินรวม ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วมในสัดส่วน 20% แต่ไม่เกิน 50% นั้น ไม่จำ
เป็นต้องจัดทำงบการเงินรวม แต่ให้บริษัทใหญ่บันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมตาม
วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 45 เรื่อง “การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม”
เงื่อนไขในการจัดทำงบการเงินรวม
แม้ว่างบการเงินรวมจะมีประโยชน์จากการนำเสนอฐานะการเงิน และผล การดำเนินงาน
ของกลุ่มกิจการเสมือนว่าเป็นกิจการเดียว แต่การทำงบการเงินรวมจะ เพิ่มต้นทุนการจัด
ทำให้กับกิจการ ดังนั้นจึงควรกำหนดเงื่อนไขว่าเมื่อใดควรจัดทำงบ การเงินรวม โดยเงื่อนไขดังกล่าวตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 มีดังนี้
1. หลักที่สำคัญในการพิจารณาว่าควรทำงบการเงินรวม คือบริษัทใหญ่ต้องมีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทย่อยคำว่าอำนาจควบคุมในที่นี้ หมายถึง“อำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานของกิจการ เพื่อ
ให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ของกิจการนั้น “ โดยทั่วไปแล้วหากบริษัท ใหญ
่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่า 50% ในบริษัทย่อยไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ให้พิจารณาว่าบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทย่อย ยกเว้นในกรณีที่มี หลัก
ฐานชัดเจนว่าบริษัทใหญ่ มีสิทธิออกเสียงมากแต่ไม่มีอำนาจในการควบคุม เช่น บริษัทใหญ่ซื้อหุ้นในบริษัทย่อยซึ่งดำเนินงานในต่างประเทศ แต่กฎหมายในประเทศ นั้นมีข้อจำกัดห้ามโอนสินทรัพย์ออกนอกประเทศ เช่นนี้ถือว่าบริษัทใหญ่ไม่มีอำนาจ
ในการควบคุมงาน การทำงบการเงินรวมก็อาจไม่เหมาะสมและไม่มีประโยชน์มากนัก
2. ในบางกรณีแม้ว่าบริษัทใหญ่จะมีสิทธิออกเสียงในอีกกิจการหนึ่งน้อยกว่า 50% ก็อาจถือได้ว่าบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมกิจการอื่น เช่น บริษัทใหญ่มีอำนาจ ในการออก
เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง เนื่องจากข้อตกลงที่มีกับผู้ถือหุ้นรายอื่น บริษัทใหญ่ มีอำนาจตามกฎ
หมาย หรือตามข้อตกลงในการกำหนดนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานของกิจการอื่น หรือบริษัทใหญ่มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคล ส่วนใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารอื่นที่มีหน้าที่เทียบเท่า กรรมการบริษัท เป็นต้น
3. ในการทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่ต้องรวมงบการเงินของบริษัทย่อย ทั้งใน และต่าง
ประเทศทั้งหมดไว้ในงบการเงินรวม ยกเว้นบริษัทย่อยนั้นเป็น
ประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินรวม       การจัดทำงบการเงินรวมจะสามารถทำให้ผู้อ่านงบการเงิน รับรู้ถึงกิจกรรมทางบัญชี และสถานะการเงินของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้ดีกว่า และลึกซึ้งกว่าการอ่านงบการเงิน
เดี่ยวของบริษัท แนวคิดเริ่มแรกของการจัดทำงบการเงิน รวมก็เพื่อให้ปกป้องผลประโยชน์
ของผู้ถือหุ้น และเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากงบการเงินรวมจะทำให้ผู้ถือหุ้น และ
เจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่เห็นภาพว่า ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ ที่อยู่ในความควบคุมของบริษัท
ใหญ่มีเท่าใด ในทางบัญชีแล้ว แม้ว่าจะมีวิธีที่สามารถแสดงส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทย่อย
ของบริษัทใหญ่ โดยการบันทึกบัญชี “เงินลงทุน” (ซึ่งก็ไม่ต้องทำงบการเงินรวม) อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายๆบริษัท การทำงบการเงินรวมอาจ
ถือว่าเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่ได้ประโยชน์จากการอ่าน
งบการเงิน โดยสรุปแล้วการทำงบการเงินรวมจะมีประโยชน์ต่อบุคคลหลายๆ ฝ่าย ดังนี้
1. นักลงทุนระยะยาว งบการเงินรวมจะมีประโยชน์มากต่อนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนระยะ
ยาวในบริษัทใหญ่ เนื่องจากผู้ถือหุ้นในปัจจุบันหรือผู้ที่จะลงทุนในบริษัทใหญ่ คือผู้ที่จะมี
ส่วนได้เสีย ในบริษัทใหญ่ และส่วนได้เสียที่บริษัทใหญ่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้งนี้การที่บริษัทใหญ่จะมีผลประกอบการที่ดีนั้น มีส่วนมาจากผลประกอบการย่อย ของ
บริษัทย่อย หากบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิบริษัทใหญ่ก็ได้รับส่วนได้เสีย ในกำไรของบริษัทย่อย แต่ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทย่อยเกิดขาดทุนขึ้น บริษัทใหญ่ก็จะรับรู้ส่วนได้เสียในขาด
ทุนของบริษัทย่อย การพิจารณางบการเงินรวมจึงทำให้ผู้ถือหุ้น สามารถพิจารณาลงทุนได้
อย่างมีประสิทธิผล
2. เจ้าหนี้ระยะยาวเจ้าหนี้ของบริษัทใหญ่ก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องการทราบผลประกอบการของบริษัทย่อยในความควบคุมของบริษัทใหญ่ การทราบผลประกอบการของบริษัทย่อยผ่านการทำงบการเงินรวมเท่านั้น จะทำให้เจ้าหนี้ระยะยาวของบริษัทใหญ่สามารถประเมินความเสี่ยง และผลประกอบการของบริษัทใหญ่ได้สำหรับเจ้าหนี้ระยะสั้นนั้น ความจำเป็นในการอ่าน
งบการเงินรวมอาจไม่มากนัก เนื่องจากเจ้าหนี้ระยะสั้นจะสนใจต่อสภาพคล่องระยะสั้นของ
บริษัทใหญ่ มากกว่าผลประกอบการในอนาคตของบริษัทใหญ่ ฉะนั้นแม้ว่าเจ้าหนี้ระยะสั้นอาจได้ประโยชน์จากการอ่านงบการเงินรวม แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าหนี้ระยะสั้นจะสนใจงบดุลเดี่ยวของบริษัทแม่
3. ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ การจัดทำงบการเงินทั้งงบการเงินเดี่ยวและงบการเงินรวม
ล้วนมีประโยชน์ต่อ ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ เช่น บริษัทย่อยหลายรายมีผลประกอบการที่
ผันผวนมาก กล่าวคือบางปีมีกำไรและบางปีมีขาดทุน ซึ่งถ้าไม่ดูงบการเงินรวมแล้วผู้บริหารของบริษัทใหญ่อาจไม่ทราบผลประกอบการโดยรวม
ที่แท้จริงของบริษัทย่อยเหล่านั้นได้ นอกจากนี้การทำงบการเงินรวมจะทำให้ผู้บริหารของบริษัท
ใหญ่ สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพื่อทำให้กลุ่มบริษัทสามารถมีต้นทุนทางการเงินต่ำ
ที่สุด
4. ผู้เกี่ยวข้องอื่น นอกจากผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้และผู้บริหารจะสนใจอ่านงบการเงินรวมแล้ว นักวิเคราะห์ทางการเงินก็จำเป็นต้องทราบรายละเอียดผลประกอบการ ของกลุ่มบริษัทรัฐบาล
หรือองค์กรภาครัฐ เช่น กรมสรรพากร ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. ล้วนแต่ต้องการทราบข้อมูลใน
งบการเงินรวมทั้งสิ้น
สรุป
งบการเงินรวมจัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว หลักเกณฑ์ทางปฏิบัติการกำหนดว่าเมื่อใดควรจัดทำงบการเงินรวมคือ ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นใน
บริษัทอื่นเกินเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทอื่นเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทนั้นเป็นบริษัทย่อยและให้จัดทำงบการเงินรวม ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้น
ในบริษัทร่วมในสัดส่วน 20% แต่ไม่เกิน 50% นั้น ไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินรวม แต่ให้บริษัทใหญ่บันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 45 เรื่อง “การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม”
 
ที่มา : www.dip.go.th