วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร

 การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร
  วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน       วัตถุประสงค์ของการบัญชีคือ เพื่อทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ การบัญชีการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลแก่บุคคลภายนอกนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้ให้สินเชื่อ และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามโดยเบื้องต้นนั้นการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหารมีความเกี่ยวข้องกันกับการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งก็คือผู้บริหาร อย่างไรก็ตามข้อมูลทางการบัญชีต้นทุนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงิน 
การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)       ข้อมูลในทางบัญชีการเงินเป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อการนำเสนอต่อบุคคลภายนอกองค์กรในรูปแบบของงบการเงินต่างๆ ข้อมูลทางการบัญชีการเงินจะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principles : GAAP) หลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้นรวมถึงระเบียบแบบแผน กฎ ข้อบังคับ และวิธีการซึ่งกำหนดหรืออธิบายให้ทราบเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันในทางบัญชี การบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร (Cost Accounting and Management Accounting) 
      วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร (การบัญชีเพื่อการจัดการ) คือ ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อการวางแผนและการควบคุม สมาคมนักบัญชีนานาชาติ (The National Association of Accountants : NAA) ได้อธิบายถึงการบัญชีบริหารไว้ดังนี้ “การบัญชีบริหารเป็นกระบวนการของการระบุ การวัดค่า การสะสม การวิเคราะห์ การจัดทำ การอธิบาย แปลความหมาย ตีความ และการสื่อสารข้อมูลทางการเงินที่ผู้บริหารจะนำไปใช้เพื่อการวางแผนงานการวัดผลงาน และการควบคุมภายในองค์กร” 
      การบัญชีต้นทุนเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยพื้นฐานในส่วนของการจดบันทึกข้อมูล และการรายงานข้อมูลต้นทุนสินค้าที่ผลิตและการให้บริการ ซึ่งรวมถึงวิธีการในการรับรู้ การจำแนกประเภทต้นทุน การปันส่วน การรายงานข้อมูลต้นทุน การเปรียบเทียบข้อมูลต้นทุนกับต้นทุนมาตรฐาน แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่างการบัญชีต้นทุนและการบัญชีบริหาร แต่คำสองคำนี้ถูกนำมาใช้กล่าวถึงแทนกันบ่อยครั้ง 
การบัญชีต้นทุนสำหรับการวางแผนและการควบคุม 
      การบัญชีต้นทุนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการวางแผนและการควบคุมการวางแผนรวมถึงการระบุหรือกำหนดเป้าหมายขององค์กร และการพัฒนาแผนงานเพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการวางแผนคือการพัฒนางบประมาณหรือแผนงานสำหรับการดำเนินงานขององค์กร การบัญชีต้นทุนทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการนำมาใช้เพื่อการพัฒนางบประมาณ ในลักษณะของการกำหนดต้นทุนมาตรฐานโดยจะถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าต้นทุนการผลิตโดยประมาณ 
      การควบคุมรวมถึงการเปรียบเทียบผลการทำงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณตามแผนงาน และการรายงานถึงการประเมินค่าผลการดำเนินงาน รายละเอียดบางอย่างโดยเฉพาะซึ่งรวมถึงการเปรียบเทียบต้นทุนจริงกับต้นทุนมาตรฐาน และการคำนวณผลต่าง การบัญชีต้นทุนจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นเพื่อจะทำให้สามารถบรรลุผลสำเร็จในหน้าที่งานเหล่านั้นได้ 
      ในบางครั้งการวางแผนและการควบคุมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ การวางแผนกลยุทธ์ การควบคุม การบริหาร และการควบคุมการดำเนินงาน การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการที่ระบุหรือกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ การควบคุมการบริหารงานเป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจได้ว่าทรัพยากรที่กิจการมีอยู่นั้นได้ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล รวมถึงมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร ส่วนการควบคุมการดำเนินงานเป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจได้ว่าหน้าที่งาน การดำเนินงานในทุกส่วนงานมีความพร้อมสมบูรณ์ที่จะทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล 
การบัญชีต้นทุนในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ 
      ข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนสามารถนำมาพิจารณาในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ได้ในลักษณะของผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนของการได้มาซึ่งชุดข้อมูลบางอย่าง หรือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการได้ทราบข้อมูลบางอย่างโดยเฉพาะ ซึ่งจะสงผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีกว่าจากการใช้ข้อมูลเหล่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเมื่อพิจารณาในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ชุดข้อมูลบางอย่างโดยเฉพาะนั้นจะต้องมีมูลค่ามากกว่าต้นทุนที่เสียไปจากการจัดหาข้อมูลเหล่านั้น เช่น ในการตัดสินใจว่าควรจะทำการผลิตหรือหรือไม่โดยใช้ข้อมูลต้นทุนในลักษณะอื่นๆ ที่ให้รายละเอียดได้มากกว่ารายงานข้อมูลต้นทุน ต้นทุนของการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นควรจะต้องเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในครั้งนั้นด้วย เป็นต้น

เครื่องมือ"คนรวย"ที่"คนจน"ไม่รู้! สาระดีๆที่ควรรู้

ระบบสารสนเทศผู้สอบบัญชีภาษีอากร

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ผ่อนคล้ายอารมณ์กับชิงร้อยชิงล้าน

สร้างงบการเงิน

แม่บทการบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

การคำนวณซื้อสุทธิ

เทคนิคการจำตั๋วเงินรับ

เทคนิคบัญชีขั้นเทพ

การบันทึกบัญชี การลงทุน

Financial Accounting

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากร
ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้
แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร
แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาค             เอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

ความหมายของการบัญชี
การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน

ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชี                    ภาษีอากร
การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก
การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ 
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
-  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
-  บริษัทจำกัด
-  บริษัทมหาชนจำกัด
-  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
-  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
3)  ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่
4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
2.2  ผู้ทำบัญชี

1)  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
2)  ต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้

3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
4.  บทกำหนดโทษ4.1  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ
4.2  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.  ประมวลรัษฎากร

การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร
1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง
-  ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-             นุเบกษา
-  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้
1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน
2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด
1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
1)  ให้ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)
(1)  รายงานภาษีขาย
(2)  รายงานภาษีซื้อ
(3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)
2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)
2.  การจัดทำงบการเงิน
3.  การตรวจสอบและรับรองบัญชี            

หลักเกณฑ์การบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
1.  คำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน
1.1  สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
1.2  หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
1.3  ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
1.4  รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ
1.5  ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
2.  การรับรู้รายการ
2.1  การรับรู้รายได้ ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ดังนี้
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือส่วนที่ลดลงของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ 
2.2  การรับรู้ค่าใช้จ่าย ให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง                    2 ประการคือ
1)  เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
2)  เมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
3.  ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
3.1  เกณฑ์คงค้าง
3.2  หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง   
เงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน  ค่าใช้จ่าย  ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ก้าวหน้า)

การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.  เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.  การผ่อนปรนการใช้เกณฑ์สิทธิ
3.  เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย               
ภาระหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.1  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี
1.2  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1  ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
2.2  ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและ/หรือให้บริการในราชอาณาจักร
3.2  ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.  ความรับผิดทางอาญา
2.     ความรับผิดทางแพ่ง 
 การขอคืนภาษี
1.  ให้ผู้ที่ชำระภาษีไว้เกินขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษีหรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ (กรณียื่นเกินกว่ากำหนดเวลา) หรือนับแต่วันได้รับแจ้งค่าวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่เขต การขอคืนภาษีในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยให้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะได้รับคืนเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้ขอคืนภาษี
ผู้มีอำนาจสั่งคืนภาษีจะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วัน นับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งเป็นหนังสือ (แบบ ค. 20) ไปยังผู้ขอคืนเพื่อแจ้งการโอนเงินค่าภาษีที่ขอคืน หรือแจ้งให้ไปรับคืนค่าภาษีได้ และกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2.  ผู้ที่ชำระภาษีหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย จะขอคืนภาษีโดยไม่ยื่นคำร้อง (แบบ ค. 10) ก็ได้ ซึ่งต้องรอให้ถึงระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี และกรอกข้อความลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีพร้อมทั้งแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
       
อำนาจการประเมินภาษี
สรุปอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินภาษีในการประเมินภาษีอากร
1.  ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้ตามมาตรา 18 ทวิ
2.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ ถ้าประเมินแล้วมีภาษีอากรที่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้เสียภาษีตามมาตรา 18 และมาตรา 88/53.  ประเมินภาษีตามรายการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นรายการมาไต่สวนหรือออกหมายเรียกพยานคำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ ทั้งนี้การออกหมายเรียกดังกล่าวต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 18 มาตรา 23 มาตรา 27 จัตวา มาตรา 88 และมาตรา 88/6
4.  เข้าไปในสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรหรือไม่โดยให้เจ้าพนักงานแสดงบัตรประจำตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบตามมาตรา88/3
5.  อำนาจการประเมินเงินได้ เจ้าพนักงานประเมินภาษีมีอำนาจในการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร
6.  อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 88 และมาตรา 91/21(5)

เทคนิคการจำหมวดบัญชี

เทคนิคการจำ บัญชีขั้นต้น