วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่บทการบัญชี

                                                  



แม่บทการบัญชีเกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพ คำนิยาม การรับรู้ การวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆ ของงบการเงิน และแนวคิดเกี่ยวกับทุน และการรักษาระดับทุน ซึ่งในการจัดทำงบการเงิน ผู้จัดทำงบการเงินจึงควรเข้าใจถึงเรื่องสำคัญดังกล่าวข้างต้น และต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินส่วนใหญ่ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน ซึ่งงบการเงินนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรายงานทางการเงิน

งบการเงินที่สมบูรณ์อาจประกอบไปด้วย งบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) งบกำไรขาดทุน (งบแสดงถึงผลการดำเนินงาน) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลเพิ่มเติมอื่นที่ได้มาจากงบการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินนั้น ทั้งนี้ งบการเงินไม่รวมถึงรายงานของผู้บริหาร สารจากประธาน และบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่อาจปรากฏในรายงานประจำปี หรือรายงานการเงิน



ผู้ใช้งบการเงิน และความต้องการข้อมูล

1. ผู้ลงทุน คือ ผู้เป็นเจ้าของเงินทุน ที่ต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ ซื้อ ขาย หรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป และอาจรวมถึงการประเมินถึงความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย

2. ลูกจ้าง คือ ลูกจ้าง และกลุ่มตัวแทน ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคง และความสามารถในการทำกำไรของนายจ้าง รวมถึงการประเมินถึงความสามารถในการจ่าย ค่าตอบแทน บำเหน็จ บำนาญ และโอกาสในการจ้างงานในอนาคตด้วย

3. ผู้ให้กู้ คือ ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าเงินที่ให้กู้ยืมนั้น รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนดหรือไม่

4. ผู้ขายสินค้า และเจ้าหนี้อื่น คือ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่า หนี้สินอันเกิดจากการค้า จะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด รวมถึงเพื่อประเมินถึงความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการในอนาคตอีกด้วย

5. ลูกค้า คือ ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องมีความสัมพันธ์หรือต้องพึงพากันในระยะยาว

6. รัฐบาล และหน่วยงานราชการ คือ กลุ่มที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการเพื่อ การจัดสรรทรัพยากร การกำกับดูแล การกำหนดนโยบายทางภาษี และเพื่อเป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

7. สาธารณชน คือ ประชาชนผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จ และการดำเนินงานของกิจการ เพราะประชาชนอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดจากผลกระทบของกิจการ เช่น การจ้างงาน การรับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในท้องถิ่น เป็นต้น



ข้อสมมุติในการจัดทำงบการเงิน

1. เกณฑ์คงค้าง หมายถึง การที่งบการเงินจัดทำขึ้นภายใต้หลักที่ว่า “รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้เมื่อเกิดขึ้น มิใช่เมื่อมีการรับ หรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด” ซึ่งข้อมูลของงบการเงินที่จัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง มีดังนี้

1) รายการค้าในอดีตที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสด

2) ภาระผูกพันของกิจการที่ต้องจ่ายเป็นเงินสดในอนาคต และ

3) ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่จะได้รับเป็นเงินสดในอนาคต

2. การดำเนินงานต่อเนื่อง หมายถึง การที่กิจการไม่มีวัตถุประสงค์หลักที่จะเลิกกิจการ หรือลดขนาดของการดำเนินงานที่สำคัญในอนาคต หรืออาจกล่าวได้ว่า “กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคตนั่นเอง”



ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน

หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ซึ่งลักษณะหรือคุณสมบัติ ดังกล่าว มี 4 ประการคือ

1. ความเข้าใจได้

2. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ คือ ข้อมูลนั้นต้องช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือบ่งชี้ถึงความผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้

3. ความเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลที่ไม่มีข้อผิดพลาดที่สำคัญ และไม่มีความลำเอียงที่จะนำเสนอข้อมูลให้ผู้ใช้งบการเงินหลงเข้าใจตามที่ตนต้องการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ข้อมูลนั้นต้องเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดง หรือควรแสดง ซึ่งการทำให้ข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม อาจต้องประกอบด้วยหลักดังนี้

3.1 หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ คือ ข้อมูลต้องบันทึก และแสดงตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ มิใช่ยึดตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ กฎหมายถือว่า เมื่อมีการจดทะเบียนกันแล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ได้โอนแล้ว แต่โดยเนื้อหาของสัญญายังระบุให้เจ้าของเดิมใช้ประโยชน์ได้อยู่ เป็นต้น

3.2 หลักความเป็นกลาง

3.3 หลักความระมัดระวัง เกิดจากความไม่แน่นอนในข้อมูลของงบการเงิน เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้ ทำให้กิจการใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูลโดยเปิดเผยข้อมูลถึงผลกระทบดังกล่าว ซึ่งกรเปิดเผยข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของผู้จัดทำงบการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลัก

3.4 หลักความครบถ้วน คือ ต้องพิจารณาจากการที่ข้อมูลนั้นไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ หากไม่ทำให้การตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินผิดพลาด ก็อาจถือได้ว่า งบการเงินนั้นแสดงข้อมูลครบถ้วนแล้ว

4. การเปรียบเทียบกันได้ เป็นคุณสมบัติของงบการเงินที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ที่จะเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงิน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของ ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ และยังช่วยในการประเมินถึง ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินอีกด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญของการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงินนั้น คือ นโยบายบัญชี หากนโยบายบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินที่นำมาเปรียบเทียบนั้น แตกต่างกันแล้ว การเปรียบเทียบกันของงบการเงินในเวลาที่ต่าง (ปีนี้ กับปีก่อน) ย่อมอาจเกิดข้อผิดพลาดได้

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทอาชีพของการบัญชี


ประเภทอาชีพของการบัญชี
                อาชีพการบัญชีมีหลายประเภท  โดยจะแตกต่างกันไปตามชนิดของกิจการ  และความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ  3 ประเภท คือ
                1. การบัญชีสาธารณะ 
(Public Accounting)  ได้แก่  การบัญชีของนักบัญชีที่ประกอบอาชีพส่วนตัว  รับจ้างทำงานด้านการบัญชีทั่วไป  โดยจัดตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมาและรับทำงานทางด้านการบัญชีทั่วไป  โดยจัดตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมาและรับทำงานทางด้านการบัญชี  หรือทำงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี เริ่มตั้งแต่บันทึกรายงานทางการเงิน  จัดทำรายงานทางการเงิน  การวางรับบัญชี  และการทำงบประมาณให้แก่กิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ  หรืออาจรับเป็นที่ปรึกษาในการยื่นเสียภาษีให้ถูกต้อง
                2. การบัญชีงานบัญชีของธุรกิจ (Business  Accounting)  นักบัญชีเข้าไปทำงานบัญชีของธุรกิจโดยการเป็นพนักงานประจำหรือลูกจ้างซึ่งกิจการจ้างทำงานด้วยความสมัครใจ  ผลตอบแทนที่ได้รับคือเงินเดือนประจำ  ซึ่งอาจจะเข้าไปทำงานในหน่วยงานธุรกิจ  เช่น  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนหรือร้านค้าเจ้าของคนเดียว  ในตำแหน่งต่างๆ  เช่น  ผู้อำนวยการบัญชี  สมุห์บัญชี  ผู้ตรวจสอบภายในและพนังงานบัญชี เป็นต้น
                3. การบัญชีสาวนราชการ (Govemmental  Accounting) การดำเนินงานของส่วนราชการนั้นไม่ได้แสวงหาผลกำไร  การบัญชีของราชการ  จึงแตกต่างจากธุรกิจเอกชน  กล่าวคือ  งานบัญชีของส่วนราชการจะมีหลักฐานการจดบันทึกการรับเงิน  การจ่ายเงินไว้อย่างละเอียดและผ่านขั้นตอนตามระเบียบที่กรมบัญชีกลางได้วางไว้  โดยกรมบัญชีกลางได้จัดทำเป็นหนังสือไห้หน่วยงานราชการของรัฐทุกแห่งปฏิบัติตาม

อาชีพนักบัญชี

                                                         

ลักษณะงาน

ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห็รายการธุรกิจและบันทึกผลทางการเงิน การรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบบัญชี การวางแผนทางบัญชี และการวางระบบทางบัญชีแก่สถานประกอบการต่างๆ


คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ


ควรเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ , ซื่อสัตย์ , ละเอียด , ชอบการติดต่อประชาสัมพันธ์กับคนทั่วไป , รักความก้าวหน้า , มีความคิดริเริ่ม , มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหา , วิเคราะห็งานได้อย่างมีระบบ , ตัดสินใจเร็ว , มีความสนใจและตื่นตัวในเรื่องทั่วไปและก้าวหน้าทันโลก , เพราะงานที่เกี่ยวกับการบัญชี การพาณิชย์ในองค์การธุรกิจ เป็นงานที่ท้าทายและต้องแข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ , มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา , ถนัดในเรื่องของคณิตศาสตร์ พอสมควร เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เร็วและถูกต้อง


การศึกษาและการฝึกอบรม

เข้าศึกษาต่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี,คณะสังคมศาสตร์,หรือคณะบริหารธุรกิจ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน


โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ

1. เป็นสมุห์บัญชี หรือตำแหน่งเกี่ยวกับบัญชีขององค์การธุรกิจ หรือองค์การรัฐบาล
2. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือแผนกการเงิน ในบริษัทเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ
3. ทำงานในธนาคาร บริษัทประกันภัย
4. ทำงานในองค์การรัฐบาลในหน้าที่ผู้บริหารการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
5. ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาติ
6. เป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ
สามารถพัฒนางานเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนได้ในโอกาสต่อไป หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกก็ได้



U GOT ME(เพลงนี้ชอบมากกกกกกกกกกก)

ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ

การบัญชี (Accounting)

การบัญชี

                                    
มีการพบหลักฐานว่า การบัญชีเกิดขึ้นมากว่า 4,000 ปีแล้ว สมัยนั้นได้มีการจัดทำบัญชีสินค้า บัญชีค่าแรง และค่าภาษีอากร ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาก่อนคริสตศตวรรษที่ 14 พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาระบบบัญชีคู่ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นนั้นไม่ได้รวบรวมไว้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1494 นาย FRA LUCA PACIOLI ชาวอิตาเลี่ยน ได้แต่งหนังสือชื่อ เรียกสั้น ๆ ว่า "Summa" เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรารวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิชาการบัญชี" ต่อมาราวคริสตศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีการลงทุนกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่จะบันทึกบัญชีกิจการแยกต่างหากจากเจ้าของ เพื่อจะได้ทราบว่าใครลงทุนเท่าใด และมีสิทธิส่วนได้ ส่วนเสียในกิจการเท่าใด นอกจากนั้นยังมีการจัดทำงบการเงินเพื่อรายงานถึงผลการดำเนินงานและฐานะของธุรกิจให้ผู้ร่วมลงทุนได้ทราบ ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน
การบัญชี (Accounting)
คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
" Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof."
จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย
การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ
-
1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น 
1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล
นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิด

                                                  

หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
          มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๗ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
          มาตรา ๒๘ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
          มาตรา ๒๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
          มาตรา ๓๐ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
          มาตรา ๓๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือ มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
          มาตรา ๓๒ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
          มาตรา ๓๓ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา ๑๕ เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหาย หรือเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
          มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
          มาตรา ๓๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งสั่งการตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชี หรือเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๓๙ ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
          มาตรา ๔๑ บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          [ดูคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๗๐/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓]

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี

                                            
เมื่อกล่าวถึงนักบัญชี ทุกคนคงนึกถึงคนที่ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลข และเอกสารหลักฐานต่างๆ ทางการเงิน ของบริษัทเป็นคนที่มียึดมั่นในหลักการ และทำตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านการบัญชี และต้องการทำงานด้านนี้ คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีที่จะกล่าวต่อไปนี้นักบัญชีทั้งหลายพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด


ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง
ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ได้มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่อย่างใด หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดีแล้วล่ะก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจ
ของเราอยู่แล้ว